เกียรติประวัติบรรพบุรุษ

หมื่นสุวรรณคีรีรักษ์ (บุญสุก)


 family_honour015หมื่นสุวรรณคีรีรักษ์ (บุญสุก) เป็นบุตรของนายทองสุก  ผู้จัดการรังนกเกาะสี่เกาะห้า เป็นหลานย่าทวดทองหยด นางเอกละครแห่งคูขุด ภรรยาคนหนึ่งของพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง)

นายทองสุกผู้เป็นบิดาเป็นคนกว้างขวางและมีสมุนมาก  ได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองสงขลาให้เป็นผู้ควบคุมดูแลการ ทำรังนกที่เกาะสี่เกาะห้า ชาวบ้านจึงเรียกกันเป็นที่แพร่หลายว่า “นายทองเจ้าเกาะ” เป็นผู้ส่งเสริมให้ประชาชนรอบทะเลสาบเลี้ยงไก่ และ จะผูกขาดซื้อโดยใช้วิธีตีอวนล้อมจับไก่ทั้งหมู่บ้าน แล้วเลือกเฉพาะตัวโตๆ ราคาแพงๆ นำไปเลี้ยงลูกน้องซึ่งทำรังนกอยู่บนเกาะ

ในวัยเด็ก หมื่นสุวรรณคีรีรักษ์ (บุญสุก) ถูกส่งไปเรียนหนังสือในเมืองสงขลาพร้อมๆ กับพระยาวิเชียรคีรี (ชม) และพระอนันตสมบัติ (เอม) จึงทำให้หมื่นสุวรรณคีรีรักษ์ (บุญสุก) เป็นทั้งญาติเและเพื่อนรักของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) จนกระทั่งเป็นหนุ่มและยังเที่ยวเตร่อยู่ในเมืองสงขลา พระยาวิเชียรคีรี (ชม) จึงจับให้แต่งงานกับนางสาวทองซุ่น สาวเชื้อสายจีนจากครอบครัว “แซ่จิว” แห่งบ้านแหลมสน แล้วมอบหมายให้ไปเป็นผู้ใหญ่บ้าน รักษาการกำนันตำบลคูขุด และมีราชทินนามว่า หมื่นสุวรรณคีรีรักษ์

 

หลวงจรูญบุรกิจ (จรูญ ณ สงขลา)


 family_honour014อดีตข้าหลวงประจำจังหวัดนราธิวาส สตูล ปัตตานี

ข้าหลวงทหารประจำรัฐไทรบุรี เปอร์ลิส (พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๘๗)

หลวงจรูญบุรกิจเป็นบุตรของพระยาเพ็ชราภิบาลนฤเบศร์ (พ่วง ณ สงขลา) พระยาเมืองหนองจิก กับคุณหญิงแข เพ็ชราภิบาล (แข จันทโรจวงศ์) บุตรพระยาวรวุฒิวัย พระยาเมืองพัทลุง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๑๐ คน และพี่น้องต่างมารดาอีก ๕ – ๖ คน อาทิ สว่าง บุบผา สายหยุด ลมุล สุวรรณา แผ้ว จรัส สนิท เสนอ สนอง และสนาน

หลวงจรูญบุรกิจเป็นหลานปู่พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาคนที่ ๗ เข้ารับราชการ ในสายปกครองและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจงรักภักดี มีวิริยะอุตสาหะ จนได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงและ ผู้ว่าราชการเมืองในหลายพื้นที่ในจังหวัดทางใต้สุดของไทย สมกับที่ได้สืบสายเจ้าเมืองกันมาโดยตลอดนับตั้งแต่บรรพบุรุษต้นตระกูล

 

หลวงบริรักษ์ภูเบนทร์ (ผัน)


 family_honour013หลวงบริรักษ์ภูเบนทร์ (ผัน) เป็นบุตรของพระอนุรักษ์ภูเบศร์ (ถัด) กับ คุณหลง ธิดาพระเทพา (กล่อม) และเป็นหลานปู่เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๕

หลวงอนุรักษ์ภูเบนทร์ (ผัน) ช่วยราชการเมืองสงขลา ด้วยความจงรักภักดีและมีมานะอุตสาหะ โดย ไม่ย่อท้อต่อคำโจษจันกล่าวขานเกี่ยวกับบิดาของท่าน คือ พระอนุรักษ์ภูเบศร์ (ถัด) ซึ่งเป็นคนห้าวหาญ ไม่เกรงกลัว ใคร และสามารถทำเรื่องที่ผู้คนคาดไม่ถึง โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า พระอนุรักษ์ภูเบศร์ (ถัด) ได้ช่วยราชการเมืองโดยทำหน้าที่เก็บภาษีส่งมาทางกรุงเทพฯ เป็นประจำทุกปี อยู่มาปีหนึ่งท่านเริ่มเห็นว่าภาษีซึ่งเก็บที่สงขลาควรจะเป็นของคนสงขลา จึงได้นำเม็ดมะขามใส่ปี๊บส่งเป็นภาษีมาแทน แล้วตัวท่านก็หนีอาญาแผ่นดินไปอยู่ที่ไทรบุรีจนสิ้นที่ชีวิต

 

หลวงมหานุภาพปราบสงคราม  (ผ่อง โรจนะหัสดิน)


family_honour012

ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล “โรจนะหัสดิน”

หลวงมหานุภาพปราบสงคราม (ผ่อง) เป็นบุตรของนายกันวงษ์กับนางเครือวัลย์ หลานปู่พระดำรงเทวฤทธิ์ (เรือง) ซึ่งเป็นบุตรของพระนเรนทรราชา (เหี้ยง) บุตรพระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ ๓

หลวงมหานุภาพปราบสงคราม (ผ่อง) รับราชการ สายปกครองในหลายท้องที่ เป็นคนใจนักเลง รักพวกพ้อง และเป็นนายอำเภอมือปราบที่โจรผู้ร้ายยำเกรง แต่ก็ปฏิบัติตนอย่างคนสมถะเยี่ยงคนสามัญ และรับราชการด้วยความจงรักภักดีและซื่อสัตย์มาโดยตลอด เคยเป็นนายอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๕๗ นายอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๖๙

 

หลวงเทพอาญา (วร) และเครือญาติสายพระปลัดเมืองสงขลา (น้องพระยาถลาง)


family_honour011เครือญาติ ณ สงขลา (สาย ณ ถลาง) สืบเชื้อสายจาก พระปลัดเมืองสงขลา (น้องพระยาถลาง) ซึ่งรับราชการในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๔

พระปลัดเมืองสงขลา เดิมอยู่ที่เมืองถลาง เป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างดี  จึงได้รับคำสั่งจากทางกรุงเทพฯ ให้มาช่วยงานด้านกฎหมายที่เมืองสงขลา โดยเป็น กรมการเมืองฝ่ายกฎหมาย และภายหลังเป็นปลัดเมืองสงขลา สำหรับราชทินนามของท่านไม่ปรากฏแน่ชัด เพราะผู้คนมักจะเรียกชื่อตำแหน่งปลัดเมืองของท่านมากกว่าชื่อที่เป็นราชทินนาม แล้วเติมบรรดาศักดิ์ไว้ข้างหน้า เป็นพระปลัดเมืองสงขลาเช่นเดียวกับปลัดเมือง อื่นๆ ในสมัยนั้น เช่น พระปลัดเมืองพัทลุง และพระปลัดเมืองนคร เป็นต้น พระปลัดเมืองสงขลาเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถได้ช่วยงานราชการบ้านเมืองเป็นอย่างดี และกล่าวกันว่าเป็นหนึ่งในคณะกรรมการวางเสาหลักเมืองของเมืองสงขลาในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง)

ติดต่อสอบถาม หรือให้คำแนะนำ เสนอแนะ ได้ที่ email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

หลวงอุดมภักดี (ทับ)


family_honour010หลวงอุดมภักดี (ทับ) เป็นบุตรคนที่ ๙ ของพระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม) กับนางเทศ ปฎิบัติหน้าที่ช่วยราชการเมืองสงขลา

 

หลวงอุดมภักดี (ทับ) มีภรรยา ๑๒ คน และมีบุตร-ธิดา รวม ๒๙ คน ถือเป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่ได้ทำให้ตระกูล ณ สงขลา สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม) แผ่ขยายอย่างไพศาล มีลูกหลานที่ได้ทำชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล และทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองในหลายสาขา อาทิ นายเทียม ณ สงขลา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ. เพชรบุรี ดร. ม.ล. ปริยา นวรัตน์ นายจุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พลเอกปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ ๔ ผู้มีบทบาทสำคัญในการบูรณะสุสานบรรพบุรุษ ต้นตระกูล ณ สงขลา ฯลฯ

 

พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง)


family_honour009ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา คนที่ ๑๔

 

พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ เป็นราชบุตรองค์โตของ พล.ต.ต. เจ้าราชวงศ์ (เจ้าแก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) กับ แม่เจ้าทิพยอด พระธิดาในพระเจ้าพรหมาภิพงษ์ธาดา เจ้าผู้ครอง นครลำปาง องค์ที่ ๑๐

เจ้าแก้วเมืองไท หรือ เจ้าไท ได้รับการศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่คุ้มของเจ้าราชวงศ์ จนอายุได้ ๑๓ ปี ได้ลงมาศึกษาต่อที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย เมื่อสำเร็จการศึกษา แล้ว ได้เข้ารับราชการในสำนักราชเลขาธิการ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ?นายวรการบัญชา? หลังจากที่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณระยะหนึ่ง

Page 1 of 2

Back to Top