เกียรติประวัติบรรพบุรุษ

 

พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ฑิตย์)


family_honour006ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ สงขลา

 

พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ฑิตย์ ณ สงขลา) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๒๒ ปีเถาะ เป็นบุตรของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) กับ นางจำเริญ เป็นบุตรชายลำดับที่ ๒ ในจำนวน ๓ คน ซึ่งต่างมารดากัน

เมื่ออายุได้ ๗ ปี คุณหญิงพับ ผู้เป็นย่าได้นำไปฝากเรียนหนังสือไทยกับพระธรรมโมลี (กิมเส้ง) ที่วัดมัชฌิมาวาส ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้เป็นบิดาได้ส่งบุตรชายทั้ง ๓ คน ไปเรียนหนังสือต่อที่สิงคโปร์ โดยคนโตชื่อปรง ให้เรียนแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว คนที่ ๒ ชื่อ ฑิตย์ ให้เรียนแต่ภาษาจีนอย่างเดียว และคนที่ ๓ ชื่อหนิ ให้เรียนแต่ภาษามลายูอย่างเดียว เมื่อเรียนจบได้กลับมาทำหน้าที่ เลขาส่วนตัวของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) และฝึกหัดราชการเพื่อเตรียมรับมรดกราชการต่อไป

 

พระยาปทุมเทพภักดี (ธน)


family_honour008พระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นบุตรคนที่ ๑๗ ของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปี หลวงวิเศษภักดี (อวบ ณ สงขลา) (ซึ่งภายต่อมา คือ พระกาญจนดิฐบดี) ผู้เป็นพี่ชายได้ฝากเข้ารับราชการ และเป็นปลัดอำเภอทางปักษ์ใต้หลายหัวเมือง

 

 

พระยาวิชุโชติชำนาญ (ปรง)


family_honour006พระยาวิชุโชติชำนาญ (ปรง) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) กับ นางพลับ เกิดที่จวนเจ้าเมืองสงขลา มีน้องชาย ต่างมารดา ๒ คน คือ พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ฑิตย์ ณ สงขลา) และพระยาสุรกานต์ประทีปแก้ว (หนิ ณ สงขลา) และมีน้องสาวต่างมารดา ๔ คน คือ คุณหญิงช่วง คุณแช่ม คุณหญิงเชย และคุณสงวน

พระยาวิชุโชติชำนาญ เริ่มเข้ารับการศึกษาที่สงขลาจนกระทั่งอายุประมาณ ๑๐-๑๑ ปี บิดาได้ส่งไปศึกษาต่อที่เมืองปีนัง และสิงค์โปร์ จนจบการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากสิงคโปร์ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้เดินทางกลับมายังสงขลา และอุปสมบท ๑ พรรษา จากนั้นได้สมรส แล้วจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเข้ารับราชการในกรมไฟฟ้าหลวง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาวิชุโชติชำนาญ เจ้ากรมไฟฟ้าหลวง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

พระกาญจนดิฐบดี (อวบ)


family_honour005

พระกาญจนดิฐบดี (อวบ) เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นบุตรของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) กับ คุณพึ่ง ชาวบ้านบางดาน ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีพี่สาวร่วมบิดา-มารดา เดียวกัน ๑ คน คือ คุณคล้าม ณ สงขลา เมื่ออายุได้ ๑๐ ปี เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ถึงแก่อนิจกรรม ญาติผู้ใหญ่จึงได้นำไปฝากที่วัดบวรนิเวศวิหาร ให้อยู่ในอุปการะของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้เป็นญาติของท่านผู้หญิงสุทธิ์ ภริยาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)

 

พระยามานวราชเสวี (ปลอด)


family_honour004พระยามานวราชเสวี (ปลอด) เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๓๓ ที่บ้านพระยา สุนทรานุรักษ์ (เนตร์) เป็นบุตรของพระอนันตสมบัติ (เอม) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลากับท่านเชื้อ ธิดาหลวงอุปการโกศากร (เวท วัชราภัย) และท่านปั้น ธิดาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)

เจ้าจอมกุหลาบในรัชกาลที่ ๔ พี่สาวของ ท่านปั้นได้ขอท่านเชื้อไปเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่วัยเยาว์ และได้เลี้ยงดูอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทำให้รู้จัก เจ้านายหลายพระองค์ เมื่อรัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคต เจ้าจอมกุหลาบจึงได้กราบถวายบังคมลากลับไปอยู่กับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ผู้เป็นบิดาที่สงขลา โดยได้พาท่านเชื้อไปด้วย ณ ที่นั้น ท่านเชื้อได้สมรสกับ พระอนันตสมบัติ (เอม) บุตรพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์)

 

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร)


family_honour003เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร) เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๔๒๘ (ปีระกา) ที่บ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรพระอนันตสมบัติ (เอม) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา กับท่านเชื้อ ธิดาหลวงอุปการโกศากร (เวท วัชราภัย)* และท่านปั้น

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา เป็นหญิง ๑ คน และชาย ๔ คน แต่ ๓ คนถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ จึงเหลือเพียงน้องชายอีก ๑ คน คือ พระยามานวราชเสวี (ปลอด)

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ในขณะที่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ และพระยามานวราชเสวี มีอายุได้เพียง ๙ ปี และ ๔ ปี ได้ละเคหะสถานจากสงขลา ติดตามท่านเชื้อผู้เป็นมารดามาอยู่ที่กรุงเทพฯ ที่ตำบลสีลม ในบริเวณที่ดินของหลวงอุปการโกศากร(เวท วัชราภัย) ซึ่งที่ดินแห่งนี้ ภายต่อมาในปี ๒๔๗๐ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร) ได้ก่อสร้างบ้านขึ้นใหม่ โดยในวันขึ้นบ้านใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงพระกรุณาเสด็จมาเป็นเกียรติและประทานนามว่าบ้าน ?จิตตสุข?

 

ท่านปั้น อุปการโกษากร (วัชราภัย)


family_honour002ท่านปั้น เป็นธิดาของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) กับท่านผู้หญิงสุทธิ์ ธิดาพระยารัตนโกษา (บุญเกิด) มีพี่น้อง
ร่วมบิดา-มารดา ๔ คน ได้แก่ (๑) พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) ช่วยราชการเมืองสงขลา (๒) คุณกลิ่น (๓) คุณกุหลาบ เจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ และ (๔) ท่านปั้น
ท่านปั้น สมรสกับ หลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) ซึ่งเป็นคหบดีค้าขายเรือสำเภา มีบุตร-ธิดา ด้วยกัน ๗ คน ได้แก่

(๑) คุณหญิงสมบุญวิเชียรคีรี ภริยาพระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ ๘
(๒) คุณหญิงบุญรอด สุรบดินทร์สุรินทรฤาชัย ภริยา เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฤาชัย (พร จารุจินดา)
(๓) ท่านเชื้อ อนันตสมบัติ ภริยาพระอนันตสมบัติ (เอม) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา
(๔) มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย)
(๕) คุณหญิงเป้า เพชรกำแหงสงคราม ภริยาพระยาเพชรกำแหงสงคราม (มะลิ ยุตะนันท์)
(๖) พระกรณีศรีสำรวจ (แดง วัชราภัย)
(๗) คุณหญิงตาบ ศรีสังกร ภริยาพระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์)

 

พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์)


family_honour001เกิดวันจันทร์ ปีมะเมีย ฉศก พ.ศ. ๒๓๗๗ เป็นบุตรชายคนโตของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) กับท่านผู้หญิงสุทธิ์ และเป็นผู้อยู่ในเกณฑ์จะได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาผู้หนึ่ง เนื่องจากได้รับพระราชทานตราตติยจุลจอมเกล้าสืบตระกูลจากบิดา และกรมการเมืองสงขลาในระยะเวลานั้นหามีผู้ใดจะมีฐานะดีกว่า พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) สมรสกับ คุณหญิงพับ (บิดาชื่อสิง เป็นบุตรของพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) กับท่านผู้หญิงทองสุก) มีบุตร-ธิดา ด้วยกัน ๓ คน ได้แก่

 

(๑) พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ ๘
(๒)นางสาวชื่น ไม่มีบุตร-ธิดา
(๓)พระอนันตสมบัติ (เอม) ช่วยราชการเมืองสงขลาและมีบุตร-ธิดา ด้วยภรรรยาอื่นอีก ๔ คน ได้แก่ (๑) พระยาราชพัสดุ์อภิมัณฑน์ (อั้น) (๒) นายชุ่ม (๓) นางปุย และ (๔) นางรอด

Page 2 of 2

Back to Top