ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา

เรียบเรียงโดยนายณัฐพล ณ สงขลา

บรรพบุรุษ และสายสัมพันธ์ตระกูล ณ สงขลา[1]
เรียบเรียงโดยนายณัฐพล ณ สงขลา

พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ[2] (เหยี่ยง แซ่เฮา)


ต้นตระกูล ณ สงขลา

governor1ราว พ.ศ. ๒๒๙๓ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีจีนเหยี่ยง แซ่เฮาจากเมืองเจียงจิ้วหู ตำบลบ้านเสหิ้น เหนือเมืองแอมุ่ย มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน ได้มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองสงขลา ขณะที่มีอายุได้ ๓๔ ปี ท่านเหยี่ยงได้เริ่มอาชีพด้วยการเกษตรกรรมปลูกพลูและทำสวนในแถบเมืองจะนะ แล้วจึงขยายตัวเป็นการประมง ดักโพงพางในทะเลสาบ โดยย้ายมาตั้งบ้านใหม่ที่ฝั่งแหลมสน เติบโตเป็นคหบดี ราษฎรชาวบ้านเรียกว่า ?ตั้วแปะ? ต่อมาได้เริ่มรับราชการเป็นนายอากรทำอากรรังนกเกาะสี่เกาะห้า และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นหลวงสุวรรณคีรีสมบัติ และเป็นผู้ว่าราชการเมืองสงขลาคนแรกในตระกูล ?ณ สงขลา? เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘

พระยาสุวรรณคีรี (เหยี่ยง) มีภรรยาเป็นคนพัทลุง และมีบุตร ๕ คน คือ บุญหุ้ย บุญเฮี้ยว บุญชิ้น เถี้ยนเส้ง และยกเส้ง และถึงแก่กรรมด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ ๖๘ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายบุญหุ้ย บุตรชายคนโตเป็นเจ้าเมืองสงขลาสืบต่อมา

 

 

เจ้าพระยาอินทคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย)


วีรบุรุษเมืองสงขลา (พ.ศ. ๒๓๒๗ - ๒๓๕๔)

 governor2พ.ศ. ๒๓๒๙ พม่ายกกองทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราชแตก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลยกกองทัพมาตีเอาเมืองนครคืน เมื่อเสร็จศึกแล้วจึงเสด็จฯ ต่อมาตั้งพลับพลาที่ตำบลบ่อพลับ เมืองสงขลา และให้พระยาไทร พระยาตรังกานู พระยากลันตัน และพระยาตานี มาเข้าเฝ้าฯ พร้อมกัน แต่พระยาตานีแข็งขืน จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) เป็นทัพหน้าไปตีเมืองตานี ก่อนที่ทัพหลวงจะตามไปจับตัวพระยาตานี พร้อมนำปืนใหญ่นางพญาตานี ไปเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่กรุงเทพฯ ความดีความชอบในครั้งนั้น จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) และนายบุญเฮี้ยวได้เป็นพระอนันตสมบัติและเป็นผู้ว่าราชการเมืองจะนะ นายบุญชิ้นเป็นพระพิเรนทรภักดี และนายเถี้ยนเส้งเป็นพระสุนทรนุรักษ์ ช่วยราชการเมืองสงขลาทั้ง ๓ คน find this

ตลอดระยะเวลาการปกครองเมืองสงขลาของพระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) เต็มไปด้วยศึกสงครามกับข้าศึก ได้ร่วมปราบกองทัพพม่าที่เข้ายึดเมืองถลาง ปราบกบฎแขกโต๊ะสาเหยดและพระยาตานี มีความชอบเป็นอันมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยาอินทคีรีศรีสมุทรสงครามรามภักดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา และยกเมืองสงขลาเป็นเมืองเอกให้ขึ้นกับกรุงเทพฯ อีกทั้งพระราชทานยกเมืองไทรบุรี เมืองตานีและตรังกานูให้ขึ้นกับเมืองสงขลาด้วย

พ.ศ. ๒๓๓๑ พระอนันตสมบัติ (บุญเฮี้ยว) เจ้าเมืองจะนะได้ถึงแก่กรรม เจ้าพระยาอินทคีรี (บุญหุ้ย) จึงอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้ง ๓ คนแทน คือ เถี้ยนจ๋ง เถี้ยนเส้ง และเถี้ยนไล่ (ต่างมารดา) โดยถวายเถี้ยนจ๋งไปเป็นมหาดเล็กที่กรุงเทพฯ

เจ้าพระยาอินทคีรี (บุญหุ้ย) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๕๔ ก็ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา

 

 

พระยาวิเศษภักดี (เถียนจ๋ง)


ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๕๔ - ๒๓๖๑)

 governor3พระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง) เป็นบุตรของพระอนันตสมบัติ (บุญเฮี้ยว) เป็นหลานลุงของเจ้าพระยาอินทคีรี (บุญหุ้ย) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ ๒

ในช่วงที่ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่กรุงเทพฯ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นหลวงนายฤทธิ์ ออกมาในทัพเรือของเจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค) ไปกู้เมืองถลางคืนจากกองทัพพม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๓๘ หลังจากพม่าแตกหนีกลับไป เกิดกบฎเมืองยิริง จึงได้รับคำสั่งให้ไปปราบกบฎเมืองยิริงและจับกบฎได้ จึงอยู่จัดการแยกเมืองตานีออกเป็น ๗ หัวเมืองตามพระบรมราชานุญาต โดยอยู่จัดระเบียบเป็นเวลา ๖ เดือนจึงเสร็จราชการ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองถลางถูกพม่าเข้ายึดได้อีก จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงนายฤทธิ์ (เถี้ยนจ๋ง) เชิญท้องตราไปยังเมืองสงขลาเพื่อเกณฑ์ไพร่พลจากเมืองสงขลา พัทลุง และไทรบุรี ร่วมทัพกับเจ้าพระยายมราชไปตีเมืองถลางคืนได้

เมืองสงขลาปราศจากข้าศึกอยู่ ๓ ปีเจ้าพระยาอินทคีรี (บุญหุ้ย) ก็ถึงแก่อสัญกรรม เจ้าพระยาอินทคีรีไม่มีบุตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงนายฤทธิ์ (เถี้ยนจ๋ง) เป็นพระยาวิเศษภักดีศรีสุรสงคราม พระยาสงขลาสืบมาพระยาวิเศษภักดี (เถียนจ๋ง) มีบุตรชาย ๓ คน คือ ๑) เหี้ยง ต่อมาเป็นพระนเรนทรราชา ต้นตระกูลโรจนะหัสดิน ๒) แสง เป็นต้นตระกูล ณ สงขลา สายพระยาวิชิตภักดี (เวียง) บิดาพระศรีบุรีรัฐ (สิทธิ) บิดาขุนอายุรศาสตร์ (สุนี) และ ๓) เม่น ซึ่งภายต่อมา คือ เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๖

พระยาวิเศษภักดี (เถียนจ๋ง) ว่าราชการเมืองสงขลาได้ ๗ ปี ได้สร้างอุโบสถที่วัดสุวรรณคีรี๔ แต่ยังมิทันสำเร็จก็ถึงแก่กรรม

 

 

พระยาวิเชียรคีรี (เถียนเส้ง)


ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๖๑ - ๒๓๙๐) 

governor4หลังจากที่พระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง) ถึงแก่กรรม ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรนุรักษ์ (เถี้ยนเส้ง) ผู้เป็นน้องชายเป็นพระยาสงขลาสืบต่อมา โดยมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ได้เป็นแม่ทัพต่อสู้กับกบฎแขกหัวเมือง ๒ ครั้ง  ได้ย้ายเมืองสงขลาจากฝั่งแหลมสนมาตั้งที่ฝั่งทะเลสาบด้านตรงกันข้าม ณ ตำบลบ่อยาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสงขลาในปัจจุบัน รวมทั้งได้ก่อกำแพงเมืองและสร้างศาลหลักเมืองสงขลาขึ้นเพื่อบำรุงขวัญและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และก่อตึกจีนเป็นจวนผู้ว่าที่ใช้สืบต่อกันมาอีกหลายสมัย

พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) มีอัธยาศัยดุร้าย จนราษฎรเรียกกันว่าเจ้าคุณสงขลาเสือ ด้วยเหตุที่ท่านเกณฑ์ราษฎรไปล้อมจับเสือที่ตำบลบ้านศีรษะเขา ซึ่งเป็นที่เสือป่าชุกชุม ด้วยวิธีพิสดารต่างๆ พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เป็นผู้ชำนาญการในยิงปืน เพราะเป็นศิษย์ของพระยาอภัยสรเพลิงที่กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งได้ยิงเสือด้วยปืนคาบศิลาชื่ออีเฟื่องถูกเข้าที่สมองเสือตายในทันที

พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้สานต่อการสร้างพระอุโบสถวัดสุวรรณคีรีจนสำเร็จ และเป็นหนึ่งในวัดประจำตระกูล ณ สงขลา ที่ฝั่งแหลมสน และ เป็นโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์สืบมา

พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) มีนิสัยเด็ดเดี่ยว และยึดถือธรรมเนียมจีนอย่างเข้มงวด ปกครองบ้านเมืองและเครือญาติให้มีความสามัคคีโดยเรียบร้อย เป็นผู้ชอบการละครกับกลอนสักวา มีนางเอกละคร ชื่อ ทองหยดเป็นภรรยาคนหนึ่งในภรรยาหลายๆ คน นางทองหยดมีหลาน คือ นายทองสุก ผู้จัดการรังนกเกาะสี่เกาะห้า ต้นกำเนิดเครือญาติสายสุวรรณคีรี มีบุตร คือ หมื่นสุวรรณศีรีรักษ์ (บุญสุก) ซึ่งเป็นทั้งญาติและเพื่อนรักของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) มาแต่วัยเยาว์ รวมทั้งเป็นปู่ของ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิตและศิลปินแห่งชาติ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง คุณอำนวย สุวรรณคีรี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคุณเวคิน สุวรรณคีรี ผู้ริเริ่มก่อตั้งชมรมสายสกุล ณ สงขลา (พ.ศ. ๒๕๕๒) เป็นศูนย์รวมที่สำคัญ

 

 

เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง)


ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๓๙๐ - ๒๔๐๘) และ

 governor5พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) บุตรพระยาศรีสมบัติจางวาง (บุญชิ้น) จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) เจ้าเมืองสงขลาคนที่ ๕ สืบมา และเมื่อเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองได้ ๙ ปี ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยาวิเชียรคีรี

เจ้าพระยาวิเชียรศีรี (บุญสัง) ปกครองเมืองสงขลาในช่วงรอยต่อระหว่างปลายรัชกาลที่ ๓ และต้นรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากข้าศึกสงคราม การค้าขายกับต่างชาติมีความเจริญรุ่งเรือง เมืองสงขลาใหม่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยมีชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก ชุมชนที่เติบโตขึ้นมา คือ บริเวณถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม พ่อค้าวาณิชย์ที่เป็นเชื้อสายเกี่ยวดองกับตระกูล ณ สงขลา ที่สำคัญ คือ ตระกูลคีรีวัฒน์ และตระกูลรัตนปราการ

ในสมัยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) นี้ มีก่อสร้างถนนจากเมืองสงขลาไปยังเมืองไทรบุรีเพื่อเข้าไปในแขวงมลายู ซึ่งถือเป็นถนนเศรษฐกิจสายแรกที่เชื่อมโยงไทย ? มาเลเซียและยังคงใช้งานมาจนทุกวันนี้

 

 

เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)


ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๐๘ - ๒๔๒๗) และ

governor6เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เป็นบุตรของพระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ ๓ โดยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ ๖ สืบต่อจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) ผู้มีศักดิ์เป็นอา ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤหัยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการอยู่ในกรุงเทพฯมาแต่เล็ก

เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) รับสนองพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแม่กองควบคุมการสร้างพระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน และเก๋งจีนเพื่อชมวิวเมืองสงขลาและศึกษาดาราศาสตร์ ดังเช่นพระนครคีรีที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมีบันไดอย่างดีขึ้นถึงยอด เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์และมีความละเอียดในการทำบัญชีรายการก่อสร้างเป็นหลักฐานครบถ้วนโดยละเอียด เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ได้สานต่อการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจสงขลา-ไทรบุรี-ปีนัง

ต่อจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) จนสำเร็จเรียบร้อย ทำให้เมืองสงขลาเจริญเคียงคู่ขึ้นกับเกาะปีนังมาตามลำดับ และในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ได้จัดการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากเสด็จฯ กลับจากประพาสอินเดีย โดยได้เสด็จขึ้นที่เมืองไทรบุรีมาตามถนนเพื่อเสด็จลงเรือที่เมืองสงขลากลับสู่พระนคร นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ข้ามแหลมมลายูทางสถลมารคเป็นครั้งแรก

เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) สมรสกับท่านผู้หญิงสุทธิ์ ธิดาของพระยารัตนโกษา (บุญเกิด) ชาวกรุงเทพฯ ท่านผู้หญิงสุทธิ์เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและเป็นผู้สร้างวัดสุทธิวรารามที่กรุงเทพฯ รวมทั้งสร้างอุโบสถภายในวัดแจ้งที่เมืองสงขลา ซึ่งวัดดังกล่าวนี้ ยังมีโบราณสถานที่สำคัญสำหรับบุคคลในตระกูล ณ สงขลา นั่นคือ บัวบรรจุอัฐิของตระกูล ณ สงขลา ๒ บัว ซึ่งสามารถถอดชิ้นส่วนออกและประกอบกลับเข้าที่ตามทรงเดิมได้๖ เมืองสงขลาในยุคนั้นได้เจริญรุดหน้าเป็นอย่างมากจากการปกครองของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) โดยมีพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) บุตรชายคนโตเป็นผู้ช่วยราชการเมือง และได้รับพระมหากรุณาพระราชทานตราสืบตระกูลวางตัวให้เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อมา แต่เหตุการณ์ไม่เป็นไปตามคาดหวัง เนื่องจากพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) ได้ถึงแก่อนิจกรรมไปก่อน และเป็นเหตุให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) มีอาการป่วยด้วยความเสียใจและถึงแก่อนิจกรรมใน ๒ ปีต่อมา

บ้านส่วนตัวของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) ซึ่งเป็นอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมจีน มีความสวยงาม โอ่โถง ซึ่งภายต่อมาได้ใช้เป็นจวนและว่าราชการของข้าหลวงพิเศษมณฑลนครศรีธรรมราชตรวจราชการเมืองสงขลา และศาลากลางจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และได้รับการบูรณะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลาในปัจจุบันพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) เป็นบิดาของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๘ และพระอนันตสมบัติ (เอม) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อดีตองคมนตรี ๓ รัชกาล อดีตรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และพระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) อดีตคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และองคมนตรี ๒ รัชกาล และมีผู้สืบเชื้อสาย เช่น พันเอก จินดา ณ สงขลา
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ i was reading this.) นายแพทย์ญาใจ ณ สงขลา อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์วิรัช ณ สงขลา และรุ่นต่อมา เช่น ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ดร. จิตรพัฒน์ ไกรฤกษ์ รองราชเลขาธิการ

ธิดาของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) กับท่านผู้หญิงสุทธิ์ ท่านหนึ่งมีนามว่าท่านปั้น ได้สมรสกับหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) และเป็นต้นกำเนิดลูกหลาน ณ สงขลา สายจารุจินดา จารุรัตน์ และวัชราภัย มีผู้สืบเชื้อสายและสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ อาทิ พระยาลพนรินทรเรืองศักดิ์ราชสภาบดี (วงษ์ จารุจินดา) อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา หลวงชนานุกูลกิจ (จวง จารุจินดา) นายอำเภอบางรักคนแรก พล.ต.อ. เสริม จารุรัตน์ อดีตหัวหน้านายตำรวจประจำพระราชสำนัก ท่านผู้หญิงเชื้อชื่น บุนนาค ผู้สืบเชื้อสายจากพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) และนายปรีชา วัชราภัย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นต้น

บุตรของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ผู้หนึ่งนามว่า นายปริ่ม รับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง มีผู้สืบสกุล อาทิ (๑) นายเฉลิม ณ สงขลา บิดาของนายฉลู และ นายแพทย์ฉลอง ณ สงขลา และนางศุพัจไฉน  (ณ สงขลา) อัมพุประภา และ (๒) เจ้าแม่จำรัสศรี สมรสกับเจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง มีผู้สืบสกุล อาทิ เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง

บุตรของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) อีกผู้หนึ่ง คือ พระกาญจนดิฐบดี (อวบ ณ สงขลา) ผู้ว่าราชการเมืองกาญจนดิฐ ซึ่งเป็นบิดาของหลวงอภิรมย์โกษากร (ดิษฐ ณ สงขลา) อดีตปลัดกรมพระคลังกลาง ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์คนแรก (พ.ศ. ๒๔๙๖) และเป็นบิดาของพลโท นายแพทย์ อมฤต ณ สงขลา อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และอดีตเจ้ากรมแพทย์ทหารบก

 

 

พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม)


ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๒๗ - ๒๔๓๑)

 governor7พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม) เป็นบุตรของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ ๗ มีผู้สืบสกุลสำคัญ ได้แก่ ๑) หลวงอุดมภักดี (พัน) ๒) พระยาเพชรภิบาลนฤเบศร์ (พ่วง) ซึ่งสืบเชื้อสายมายังคุณเจริญจิตร ณ สงขลา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ๓) หลวงอุดมภักดี (ทับ) ซึ่งให้กำเนิดบุตรธิดา อันเกิดจากภรรยาทั้ง ๑๒ คน ทำให้ตระกูลมีสมาชิกแผ่ขยายไพบูลย์เป็นอย่างมาก มีผู้สืบสกุลรุ่นต่อๆ มา อาทิเช่น คุณสง่า (ณ สงขลา) นวรัตน์ ณ อยุธยา มารดาของ ดร. ม.ล. ปริยา นวรัตน์ คุณมณีรัตน์ (ณ สงขลา) ภูวนารถนุรักษ์ มารดาของ พล.อ. ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ ๔ คุณเทียม ณ สงขลา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคุณจุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ๔) คุณเป้า ซึ่งสมรสกับหลวงประจันต์จุฑารักษ์ (ก้าน สิวายะวิโรจน์) ต้นกำเนิดลูกหลานตระกูล ณ สงขลา สายสิวายะวิโรจน์ อาทิ คุณจีระพงษ์ สิวายะวิโรจน์ อดีตหัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และ ๕) คุณบี้ บิดาของคุณชิต ซึ่งสืบสายสกุลต่อมาจนถึงคุณพรชิตา ณ สงขลา

พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม) มีน้องชาย คือ พระอนุรักษ์ภูเบศร์ (ถัด) ช่วยราชการเมืองสงขลา มีผู้สืบเชื้อสาย คือ หลวงบริรักษ์ภูเบนทร์ (ผัน) ปู่ของคุณเอนก ณ สงขลา และ น.พ. มงคล ณ สงขลา อดีตปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ทุกท่านล้วนมีส่วนร่วมสร้างชื่อเสียงให้แก่ตระกูล ณ สงขลาในแต่ละยุคตลอดมา

 

 

 

พระยาวิเชียรคีรี (ชม)


ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๔๔)

Governor8พระยาวิเชียรคีรี (ชม) เป็นบุตรคนโตของพระยาสุนทรนุรักษ์ (เนตร) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลากับคุณหญิงพับ เกิดที่เมืองสงขลา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2397 ณ บ้านป่าหมาก (ปัจจุบันคือที่ตั้งศาลจังหวัดสงขลา) เริ่มเรียนหนังสือกับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เมื่ออายุ 11 ปี ในปี พ.ศ. 2407 ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 เป็นมหาดเล็กหลวงเวรฤทธิ์ รับราชการในกรุงเทพฯ ได้ 2 ปี ก็ลาออกมาศึกษาวิชาการอื่นๆ ที่สงขลา เช่น วิชาช่างไม้ ยุทธศาสตร์การยิงปืน โหราศาสตร์ แพทยศาสตร์พื้นบ้าน สมุทรศาสตร์การเดินเรือ การถ่ายรูป ช่างเหล็ก ช่างทองและการทำแผนที่ทั้งกับครูไทย และครูชาวต่างประเทศหลายคน จนมีความเชี่ยวชาญ อายุได้ 16 ปี (พ.ศ. 2413) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงวิเศษภักดี (ชม) ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา อายุ 21 ปี ลาอุปสมบทสำนักอาจารย์แดง วัดดอนรัก รับราชการจนถึงปี พ.ศ. 2431 ได้เลื่อนยศเป็นพระสุนทรานุรักษ์ (ชม) ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาและรักษาราชการเมืองสงขลาในระยะที่ว่างเจ้าเมือง เพราะพระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม) ถึงแก่อสัญกรรม ต้นปี พ.ศ. 2433 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเป็นพระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลารับราชการต่อมาอีก 11 ปี ในปี พ.ศ. 2444 ถูกปลดออก และเลื่อนเป็นจางวางเมืองสงขลา รับพระราชทานเบี้ยบำนาญปีละ 8,000 บาท สูงกว่าเงินเดือนเดิมหลายเท่าตัว และ 3 ปี ต่อมาวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 ก็ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอายุ 50 ปี

 

Back to Top