เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยากับสายสกุล ณ สงขลา
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2425 เพื่อพระราชทานแก่บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถอย่างเอกอุ ไม่มีผู้ใดทำได้เสมอหรือดีเท่าและความรู้นี้เป็นเป็นประโยชน์แก่ราชการแผ่นดิน
บุคคลในสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งรับราชการและมีความรู้ความสามารถอันเป็นที่ยอมรับและประจักษ์ในความรู้ความสามารถตลอดจนผลงานของท่านจนได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาตั้งแต่การสถาปนาครั้งแรก ในรัชกาลที่ 5 จนปัจจุบัน มีจำนวน 4 ท่าน ได้แก่
1. พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 8 โดยท่านเกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2397 โดยเมื่อมีอายุได้ 11 ปีได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง และเมื่ออายุ 16 ปีได้กลับมาช่วยราชการที่เมืองสงขลา มีตำแหน่งเป็นหลวงวิเศษภักดี และได้มีความเจริญก้าวในราชการจนได้ใจรับพระราชทานให้เป็นพระยาวิเชียรคีรี ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ.2433 ท่านชม เป็นผู้ไฝ่รู้ในวิทยาการแขนงต่างๆ ได้แก่ การศึกษาหนังสือไทยกับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)ผู้เป็นปู่ วิชาช่างไม้และยิงปืน กับพระยาหนองจิก ซึ่งเป็นญาติวิชาโหราศาสตร์จากคุณหญิงพับ ผู้เป็นมารดา ได้ศึกษาวิชาการถ่ายภาพและล้างภาพกับหลวงอัคนีนฤมิตร ช่างถ่ายภาพคนไทยคนแรก และชาวต่างชาติที่ได้มาฉายพระบรมรูปให้กับพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ท่านชมนับว่าเป็นช่างภาพต่างจังหวัดคนแรกของไทย มีผลงานภาพถ่ายตั้งแต่ พ. ศ.2430 จนถึง พ.ศ. ได้ศึกษาวิชาการเดินเรือและทำแผนที่ กับกัปตันเรือชาวต่างชาติ ได้ศึกษาวิชา ช่างเหล็ก ช่างทอง จนมีการตั้งโรงงานมีเครื่องจักร เครื่องกล ภายในบ้านของท่านและห้องล้างอัดภาพมีการสั่งกระดาษอัดภาพจากต่างประเทศมียี่ห้อ และมีรูปเสือและต้นมะพร้าวอยู่ด้านหลังกระดาษอัดภาพนอกจากนี้ท่านชม ยังมีความรู้ด้านการแพทย์ซึ่งได้ศึกษาจากคณะแพทย์จากกรุงเทพฯมท่านชมได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาเมื่อ พ.ศ. 2443