เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยากับสายสกุล ณ สงขลา

เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2425 เพื่อพระราชทานแก่บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถอย่างเอกอุ ไม่มีผู้ใดทำได้เสมอหรือดีเท่าและความรู้นี้เป็นเป็นประโยชน์แก่ราชการแผ่นดิน
บุคคลในสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งรับราชการและมีความรู้ความสามารถอันเป็นที่ยอมรับและประจักษ์ในความรู้ความสามารถตลอดจนผลงานของท่านจนได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาตั้งแต่การสถาปนาครั้งแรก ในรัชกาลที่ 5 จนปัจจุบัน มีจำนวน 4 ท่าน ได้แก่
1. พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 8 โดยท่านเกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2397 โดยเมื่อมีอายุได้ 11 ปีได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง และเมื่ออายุ 16 ปีได้กลับมาช่วยราชการที่เมืองสงขลา มีตำแหน่งเป็นหลวงวิเศษภักดี และได้มีความเจริญก้าวในราชการจนได้ใจรับพระราชทานให้เป็นพระยาวิเชียรคีรี ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ.2433 ท่านชม เป็นผู้ไฝ่รู้ในวิทยาการแขนงต่างๆ ได้แก่ การศึกษาหนังสือไทยกับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)ผู้เป็นปู่ วิชาช่างไม้และยิงปืน กับพระยาหนองจิก ซึ่งเป็นญาติวิชาโหราศาสตร์จากคุณหญิงพับ ผู้เป็นมารดา ได้ศึกษาวิชาการถ่ายภาพและล้างภาพกับหลวงอัคนีนฤมิตร ช่างถ่ายภาพคนไทยคนแรก และชาวต่างชาติที่ได้มาฉายพระบรมรูปให้กับพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ท่านชมนับว่าเป็นช่างภาพต่างจังหวัดคนแรกของไทย มีผลงานภาพถ่ายตั้งแต่ พ. ศ.2430 จนถึง พ.ศ. ได้ศึกษาวิชาการเดินเรือและทำแผนที่ กับกัปตันเรือชาวต่างชาติ ได้ศึกษาวิชา ช่างเหล็ก ช่างทอง จนมีการตั้งโรงงานมีเครื่องจักร เครื่องกล ภายในบ้านของท่านและห้องล้างอัดภาพมีการสั่งกระดาษอัดภาพจากต่างประเทศมียี่ห้อ และมีรูปเสือและต้นมะพร้าวอยู่ด้านหลังกระดาษอัดภาพนอกจากนี้ท่านชม ยังมีความรู้ด้านการแพทย์ซึ่งได้ศึกษาจากคณะแพทย์จากกรุงเทพฯมท่านชมได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาเมื่อ พ.ศ. 2443

2.เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) บุตรพระอนันตสมบัติ กับท่านเชื้อ ธิดาของหลวงอุปการโกษากร(เวท)กับท่านปั้น เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2428 ณ จวนของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร) จังหวัดสงขลา ปัจจุบันคืออาคารทรงจีนของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ มีความรู้ความสามารถในด้านภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดีจึงได้สมัครเข้าเป็นล่ามในกระทรวงยุติธรรมและได้เข้าศึกษาโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมจนสำเร็จเป็นเนติบัญฑิตสยามเมื่อปี พ.ศ. 2448 ต่อมาได้รับคัดเลือกไปศึกษาในต่างประเทศ ณ สำนักเกรย์อิน กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ โดยสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2453หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติมตามคำแนะนำของ หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ซึ่งต่อมาทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ท่านเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ.2446 และได้ลาออกจากราชการในตำแหน่งองคมนตรี เมื่อ พ.ศ.2518 รวมเวลา 72 ปี ตลอดการรับราชการอันยาวนาน ท่านได้ใช้วิชาความรู้ด้านต่างๆที่ได้ศึกษามาใช้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านตุลาการ นิติบัญญัติ การเมืองการปกครอง ด้านการศึกษาได้ดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย ได้แก่ประธานรัฐสภา ประธานสภาวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร องคมนตรีและเป็นประธานองคมนตรี 2 ครั้งเป็นเสนาบดี กระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ และท่านเป็นเจ้าพระยาคนสุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยคุณูปการที่ท่านได้กระทำเป็นคุณแก่ประเทศชาติจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นบำเหน็จความชอบเมื่อ พ.ศ.2455เจ้าพระยาศรีฮูธรรมาธิเบศถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2518สิริรวมอายุได้ 91ปี
3.พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ องคมนตรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ฯลฯ
เกิดเมื่อ 18 กันยายน 2433 ที่จวนผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร)ผู้เป็นปู่ โดยเป็นบุตรของ พระอนันตสมบัติ (เอม) กับท่านเชื้อและเป็นน้องชายของท่านเจ้าพระยาศรีธรรมา
ธิเบศ เมื่อท่านอายุได้ 4 ปี ท่านเชื้อได้พาลูกชายทั้ง 2 มาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยมาอยู่กับท่านปั้นผู้เป็นมารดา ณ ตำบลสีลม ท่านได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ต่อมาเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ได้กับท่านเชื้อขอดูแลเรื่องการศึกษาให้จึงให้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรีบนประจำซึ่งผลการศึกษามีความก้าวหน้าอย่างน่าพอใจ ในปี พ.ศ.2451-2453ได้เข้าเป็นนักเรียนล่ามของกระทรวงยุติธรรม และได้สอบไล่กฎหมายไทยได้เป็นเนติบัณฑิตไทย เมื่อ พ.ศ.2454และได้เป็นล่ามภาษาอังกฤษประจำศาลคดีต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2455ได้เป็นผู้พิพากษาคดีต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2456 ท่านได้รับทุนของกระทรวงยุติธรรมไปศึกษาด้านกฎหมาย
ณ โรงเรียนอินเนอร์ เตมเปิล กรุงลอนดอนและสามารถสอบได้เนติบัณฑิตอังกฤษเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2459 หลังจากนั้นท่านได้เข้าทำงานที่สำนักงานทนายความของ Sir Hugh Fraser ซึ่งเป็นสำนักงานที่มีชื่อเสียงมาก พร้อมกันนั้นท่านได้ดูงานด้านการศาลของอังกฤษ ทุกระดับจนถึงศาลสูงสุดในปี พ.ศ.2460ท่านได้เดินทางกลับมายังกรุงเทพฯและรับราชการในศาลคดีต่างประเทศเช่นเดิม แล้วได้ย้ายไปเป็น ผู้ช่วยสมุหนิติศาสตร์ กระทรวงวัง และเป็นอาจารย์ด้านกฎหมายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลังการในปี พ.ศ.2461ท่านได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นบำเหน็จความชอบหลังวฟเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ก็รับตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีและได้รับการเสนอชื่อจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นองคมนตรี รวมเวลาที่รับราชการ 67 ปี ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 25270สิริรวมอายุ93ปี
4.รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
รศ.ดร.ภิญโญ เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2484 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายซ้อน กับ นางรื่น สุวรรณคีรี เมื่ออายุได้ 8 ขวบ กำนันซ้อน ผู้เป็นบิดาได้นำไปฝากเจ้าอาวาสวัดสามบ่อ ซึ่งท่านพระครูฯ ได้รับไว้เป็นบุตรบุญธรรม ด้วยความเป็นคนไฝ่รู้ในด้านศิลป ทั้งท่านพระครูฯ เป็นผู้มีความชำนาญในการวาดลายไทย จึงได้รับความรู้อีกทั้งชาวบ้านซึ่งเป็นช่างฝีมือต่างไป เมื่อมาพบต่างก็พากันชื่นชอบและถ่ายทอดวิชาให้ ทั้งได้เรียนหนังสือระดับประถมที่โรงเรียนวัดสามบ่อแห่งนี้ต่อมาได้ไปศึกษาต่อระดับมัธยมต้นที่ โรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลาและจบการศึกษา เมื่อ พ.ศ.2495หลังจากนั้นได้เข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมปลาย ที่ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยโดยมาพักอยู่ที่วัดประยุรวงศาวาส ซึ่งระหว่างนั้นก็ได้ใช้วิชาด้านศิลป หาเลี้ยงตัวไปด้วย และที่วัดประยูรฯประยูรฯแห่งนี้ ศิษย์วัดรุ่นพี่เห็นแววความสามารถจึงแนะนำให้สอบเข้าคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสามารถสอบเข้าได้จบสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2507 หลังจากจบการศึกษาแล้วได้เริ่มทำงานเป็นครูสอนวาดเขียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาได้เข้ารับราชการที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณฯ ซึ่งท่านได้คิดค้นวิธีการเรียนการสอนขึ้นใหม่เื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันท่านได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ผลงานของท่านมีทั้งด้านวิชาการ ในฐานะอาจารย์ ผลงานการออกแบบการสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นที่เชิดหน้าชูตาในนานาประเทศ ท่านได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมศาสตร์)เมื่อปี พ.ศ.2537 และในปี พ.ศ.2542 ท่านได้รับพระราชทาน เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
การที่บุคคลในสายสกุล ณ สงขลาทั้ง 4 ท่าน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในสรรพวิชาแขนงต่างๆ อย่างเป็นเลิศ และนำความรู้นั้นมาพัฒนาการทำงานและยังประโยชน์แก่ประเทศชาติ นับเป็นเกียรติแก่พวกเราที่เป็นผู้สืบเชื้อสาย ในสายสกุล ณ สงขลา และขอให้ลูกหลาน ณ สงขลา ได้ยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

เครดิต: ณัฐ จารุจินดา

Back to Top